วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เปิดตำนานเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 วันที่ 12-27 พ.ย.นี้


มหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่ดินแดนแห่งอารยธรรมที่เก่าแก่ของทวีปเอเชีย ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 12-27 พฤศจิกายน 2553 นี้ ทัพนักกีฬาทุกชนิดกีฬา ต่างเตรียมความพร้อม เพื่อจะลุยเกมส์แห่งศักดิ์ศรี ในครั้งนี้

เรามาย้อนอดีตของเกมส์กีฬาของชาวเอเชีย ซึ่งเป็นมหกรรมแห่งกีฬา ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ของคนเอเชียภาคภูมิใจ ที่บรรดานักกีฬาหลายประเทศ ต่างหวังคว้าเหรียญเอเชียนเกมส์ นั้นเคยเกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา

ในปี ค.ศ.1913 ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกตะวันออกไกล ครั้งที่ 1 (FIRST ORIENTEL OLYMPICS) ขึ้นที่ กรุงมะลิลา ประเทศฟิลิปินส์ ในปี ค.ศ.1913 โดยมีประเทศที่เข้าร่วมคือ ฟิลิปินส์ จีน ไทเป ญี่ปุ่น มาเลเชีย ฮ่องกง และ ประเทศไทย
หลังจากนั้น การแข่งขันครั้งที่ 2 ก็ได้เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น การแข่งขันกีฬาเพื่อความชนะเลิศแห่งตะวันออกไกล (FAR EAST CHAMPIONSHIPS) การแข่งขันก็ได้ดำเนินมาเรื่อยๆ จนถึงครั้งที่ 10 ในปี ค.ศ.1938 ครั้งที่ 11 เดิมก็ได้จัดขึ้น ที่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แต่เนื่องจากสถานการณ์ของโลก ไม่อำนวยที่จะจัดการแข่งขันได้ เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2

และภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ บนทวีปเอเชีย ก็ก่อกำเนิดขึ้นอีกครั้ง ภายใต้ชื่อว่า เอเชียนเกมส์ ผู้ที่ริเริ่มมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ คือ ดร.กูรู ดัตต์ สนธิ (Dr. Guru Dutt Sondhi) โดยในขณะนั้นท่าน ดร.กูรู ดัตต์ สนธิ ดำรงตำแหน่ง กรรมการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการเป็นผู้ผลักดันกีฬาแห่งเอเชีย

ความคิดดังกล่าวเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2490 โดยเห็นว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทุกครั้ง ที่ผ่านมา ประเทศแถบทวีปเอเชีย ได้เข้าร่วมการแข่งขันน้อยมาก และนักกีฬาชาวเอเชีย มีความเสียเปรียบนักกีฬาจากทวีปยุโรป และอเมริกา จึงคิดยกระดับมาตรฐานกีฬาระหว่างประเทศ ในกลุ่มเอเชีย ให้ทัดเทียมกับกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา โดยเฉพาะประการสำคัญที่สุด คือ สานสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศในภาคพื้นเอเชีย เนื่องจากในช่วงเวลานั้น ประเทศในกลุ่มเอเชียหลายประเทศ มีความแตกต่างกันในทางเศรษฐกิจและความคิดเห็นทางการเมือง

ดร.กูรู ดัตต์ สนธิ จึงจึงนำความคิดที่จะพัฒนามาตรฐานการกีฬาของภูมิภาคเอเชีย ดังกล่าว ไปหารือกับคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งอินเดีย เพื่อให้คณะกรรมการ กล่าวทาบทามประเทศต่างๆ ที่เดินทางร่วมประชุม เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเอเชีย ที่ประเทศอินเดีย ให้ร่วมกันจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศขึ้นบนแผ่นดินเอเชีย ซึ่งความคิดนี้ ได้รับความสนันสนุนจาก ฯพณฯเยาวหราล เนห์รู นายกรัฐมนตรีอินเดีย ในสมัยนั้น

ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 14 กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม-14 สิงหาคม 2491 ในปีนั้น มีประเทศแถบภาคพื้นเอเชีย ไปเข้าร่วมการแข่งขัน อาทิ เช่น เกาหลี จีน ซีเรีย ปากีสถาน พม่า ฟิลิปินส์ สิงคโปร์ อินเดีย ศรีลังกา อัฟกานิสถานเลบานอน และ อิหร่าน ดร.สนธิ จึงได้โอกาสเชิญบรรดาหัวหน้าคณะนักกีฬา จากประเทศเอเชีย เข้ามาหารือในการจัดตั้งการแข่งขันกีฬาระหว่างภาคพื้นเอเชียขึ้น ซึ่งการประชุมร่วมกันในครั้งนี้ได้แรงสนันสนุนจากประเทศสมาชิกเป็นอย่างดี

และในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2491 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้มีตัวแทนเข้าร่วมประชุม 6 ประเทศได้แก่ เกาหลี จีน พม่า ฟิลิปินส์ ศรีลังกา และอินเดีย ในการประชุมครั้งนี้ได้ขอสรุป คือให้ตัวแทนจากประเทศ เกาหลี จีน ฟิลิปินส์ และอินเดียไปร่างรัฐธรรมนูญหรือระเบียบข้อบังคับของการแข่งขันโดยใช้ชื่อ สหพันธ์กีฬาแห่งเอเชีย (Asian Games Federation)

ในการประชุมครั้งต่อมา จัดขึ้นที่ประเทศอินเดียในวันที่12-13 กุมภาพันธ์ 2492 มีคณะกรรมการโอลิมปิกประเทศ พม่า อินเดีย ฟิลิปินส์ และได้มี ผู้แทนจาก ไทย เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา อัฟกานิสถาน และอินโดนีเชีย ไปร่วมประชุมด้วย และข้อสรุปในที่ประชุมในครั้งนี้ได้ตกลงยอมรับ ธรรมนูญว่าการแข่งขันกีฬาระหว่างชาติแห่งเอเชีย จะต้องจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี โดยเปลี่ยนการเป็นเจ้าภาพตามลำดับตัวอักษรของประเทศต่าง ๆ

สัญลักษณ์ เอเชียนเกมส์

สำหรับเครื่องหมายเอเชียนเกมส์ เป็นรูปพระอาทิตย์สีแดง มีรัศมีเป็นแฉกรอบดวง 16 แฉก อยู่บนพื้นธงสีขาวตอนบนดวงอาทิตย์มีอักษรภาษาอังกฤษ 2 แถว มีข้อความ เอเวอร์ ออน วอด์ด (EVER ONWARD) หมายความว่า ก้าวหน้าไปให้ไกลไม่มีที่สิ้นสุด ส่วนใต้ดวงอาทิตย์มีห่วงคล้องกัน 20 ห่วง หมายถึงประเทศในเอเชีย 20 ประเทศ มีความสามัคคีกลมเกลียวกัน ร่วมสนับสนุนการจัดการแข่งขัน ใต้ห่วงเป็นชื่อเมืองและปีคริสต์ศักราชที่จัดการแข่งขัน
คำขวัญของการแข่งขันเอเชียนเกมส์

"ในนามของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ข้าพเจ้าขอสัญญาว่า เราจะเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ ด้วยความเคารพกติกา ด้วยน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เพื่อความรุ่งโรจน์ของกีฬา และเพื่อเกียรติยศของชุดของเรา"

ประเทศสมาชิกโอลิมปิกแห่งเอเชีย

1.กาตาร์ 2.กัมพูชา 3.เกาหลีเหนือ 4.เกาหลีใต้ 5.คาซัคสถาน 6.คีร์กีซสถาน 7.คูเวต 8.จอร์แดน 9.จีน 10.ซีเรีย 11.ซาอุดีอาระเบีย 12.ญี่ปุ่น 13.เติร์กเมนิสถาน 14.ไต้หวัน 15.ทาจิกิสถาน 16.ไทย 17.เนปาล 18.บาห์เรน 19.บังคลาเทศ 20.บรูไน 21.ปากีสถาน 22.ปาเลสไตน์ 23.ฟิลิปปินส์ 24.ภูฏาน 25.มองโกเลีย 26.มาเก๊า 27.มาเลเซีย 28.เมียนมาร์ 29.มัลดีฟส์ 30.ลาว 31.เลบานอน 33.เวียดนาม 34.ศรีลังกา 35.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 36.สิงคโปร์ 37.อิหร่าน 38.อินเดีย 39.อินโดนีเซีย 40.อุซเบกิสถาน 41.อัฟกานิสถาน 42.โอมาน 43.ฮ่องกง

วิธีกำจัดคราบเหลืองใต้วงแขนเสื้อผ้า


วิธีกำจัดคราบเหลืองใต้วงแขนเสื้อผ้า (กรมประชาสัมพันธ์)

1. เทน้ำส้มสายชูลงบนคราบเปื้อนให้ชุ่ม ทิ้งไว้ประมาณ ครึ่งชั่วโมง

2. หลังจากนั้นเอาผงซักฟอกเทลงไปบนคราบเปื้อน (ไม่ต้องล้างน้ำส้มสายชูออกนะคะ)

3. แล้วใช้แปรงถูผ้าขัดวนไปรอบ ๆ รอยเปื้อนนั้น รอยเปื้อนก็จะจางลงค่ะ

4. ถ้าคราบเปื้อนจางลงแล้วแต่คราบยังออกไม่หมด ก็ให้เริ่มทำตั้งแต่ข้อ 1 ใหม่อีกครั้งค่ะ รับรองว่า รอยคราบจะหายไปเหมือนได้เสื้อใหม่กลับคืนมาค่ะ

อ้อ !!! ไม่ได้ใช้ได้แต่เฉพาะคราบเปื้อนสีเหลืองอย่างเดียวนะคะ คราบแข็ง ๆ ที่ติดอยู่ตรงรักแร้ของเสื้อก็จะค่อย ๆ นิ่มลง แล้วหายไปในที่สุดค่ะ นอกจากนั้นแล้วจะไม่มีกลิ่นเต่าติดที่เสื้อด้วยค่ะ (กรณีสำหรับคนที่มีกลิ่นตัว แต่เวลาซักเสื้อ แล้วกลิ่นเต่ายังติดอยู่ที่เสื้อ)

6 สมุนไพร ใช้เยียวยาอาการเลือดกำเดาไหล


6 สมุนไพร ใช้เยียวยาอาการเลือดกำเดาไหล (woman story)

วันนี้จะขอนำเสนอสูตรสมุนไพร 6 ชนิด ที่ใช้รักษาอาการเลือดกำเดาไหล ที่ได้จากภูมิปัญญาไทย ของหมอสมุนไพรประจำคลินิกหนองบงการแพทย์แผนไทย จังหวัดลพบุรี มาแนะนำกันค่ะ

1. ใบพลู นำใบพลูมา 1 ใบ แล้วม้วนให้เหมือนม้วนบุหรี่ จากนั้นขยี้ปลายข้างหนึ่ง แล้วนำส่วนที่ขยี้สอดเข้าไปในรูจมูกที่เลือดกำเดาไหล ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เลือดกำเดาจะหยุดไหล เพราะใบพลูมีสรรพคุณในการสมานแผลได้ดี

2. น้ำมะนาว บีบน้ำมะนาวครึ่งลูกผสมกับน้ำอุ่น 1 แก้ว จากนั้นเติมเกลือครึ่งช้อนชา และน้ำตาลไม่ขัดขาว 1 ช้อนโต๊ะ ชงดื่มวันละแก้ว ก่อนอาหาร วิตามินซีจะช่วยแก้อาการเลือดออกตามไรฟัน ลักปิดลักเปิด และเลือดกำเดาไหลได้

3. รากต้นข้าว ใช้รากข้าวที่เกี่ยวแล้ว 1 ต้น ถอนตั้งแต่รากขึ้นไปประมาณ 1 คืบ ล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำ 1 ลิตรจนเดือด กรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ก่อนอาหาร เช้า - เย็น ช่วยห้ามเลือดกำเดาไหล

4. รากต้นฝรั่ง ใช้รากต้นฝรั่ง 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำ 1 ลิตรจนเดือด กรองเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ก่อนอาหาร เช้า – เย็น

5. รากหัวไชเท้า ใช้รากหัวไชเท้าหนักประมาณ 15 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด ตำหรือคั้นเอาแต่น้ำ จากนั้นใช้น้ำที่คั้นได้หยอดเข้าทางจมูกข้างที่มีเลือดไหล 1 - 2 หยด หัวไชเท้ามีสรรพคุณสมานแผลและห้ามเลือดได้

6. รากไพล ใช้รากไพล 7 ราก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด หลังจากนั้นใส่น้ำเปล่า 3 หยด ขยี้ให้เข้ากัน กรองเอาแต่น้ำ หยอดน้ำรากไพลในรูจมูกข้างที่เลือดไหล ไพลมีสรรพคุณช่วยแก้เลือดกำเดาไหลและฆ่าเชื้อ

สมุนไพรพื้นบ้านสรรพคุณล้นเหลือ ยังไงก็ลองนำไปใช้ดูนะคะ อีกอย่างของที่มาจากธรรมชาติ รับรองว่าไม่ผลข้างเคียงแน่นอนค่ะ

ลอยกระทงตามประทีป ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ


เทศกาลลอยกระทงตามประทีป ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ (ททท.)

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพระนครศรีอยุธยา ขอเชิญเที่ยวงาน "เทศกาลลอยกระทงตามประทีป ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ 2553" วันที่ 21 พฤศจิกายน 2553 ณ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ซึ่งภายในงาน "เทศกาลลอยกระทงตามประทีป ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ 2553" จะมีการประกวดกระทงชิงถ้วยพระราชทาน, ประกวดนางนพมาศและหนูน้อยนพมาศชิงถ้วยพระราชทาน, ขบวนแห่นางนพมาศโบราณ 4 ภาค, การแสดงศิลปวัฒนธรรม ลานเพลงดังเมื่อวันวาน, ประกวดอาหารไทย, ซุ้มการละเล่นย้อนยุค เวทีร่วมสมัย, การจำหน่ายสินค้าศิลปาชีพ, ตลาดนัดวันวาน ตลาดโต้รุ่งริมน้ำ อิ่มอร่อยกับเทศกาลอาหารเลิศรส, การจุดพลุ โคมลอย และกิจกรรมอื่น ๆ มากมาย ร่วมถึงประเพณีลอยกระทง
การเดินทาง

โดยรถประจำทาง : รถโดยสารวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) และสถานีหลักของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในถนนนเรศวร ทุก ๆ 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.00 - 19.00 น. อัตราค่าโดยสารราคา 30 บาท และการเดินทางใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง รถโดยสารปรับอากาศ เดินทางโดยใช้เส้นทางเดียวกันทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 5.40 - 7.20 น. (ทุก 15 นาที 07.00 - 17.00) อัตราค่าโดยสารราคา 47 บาท และการเดินทางใช้เวลา 1.5 ชั่วโมง

โดยรถไฟ : รถไฟเส้นทาง อยุธยา - กรุงเทพฯสถานีรถไฟหัวลำโพงใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 04.20 - 22.00 น. ตรวจสอบตารางรถไฟได้จากบูธของข้อมูลที่สถานีรถไฟหัวลำโพง หรือโทร 0 2223 7010, 0 2223 7020, หรือ 1690 หรือ www.railway.co.th

โดยทางอื่น : เดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน.) เข้าทางหลวงหมายเลข 32 ไปอยุธยาทางเลือกที่สองใช้ทางหลวงหมายเลข 304

เดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน - แจ้งวัฒนะ) เข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) เข้าทางหลวงหมายเลข 3111 (ปทุมธานี - สามโคก - เสนา) และเลี้ยวขวาที่อำเภอเสนาเข้าทางหลวงหมายเลข 3263,

เดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 306 (กรุงเทพฯ - นนทบุรี - ปทุมธานี) เข้าทางหลวงหมายเลข 347

54 ประกาศปฏิทินสอบ admission54 แล้ว

สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) ประกาศปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง หรือการสอบ แอดมิชชั่น (Admissions กลาง) ประจำปีการศึกษา 2554 ดังรายละเอียดต่อไปนี้

กิจกรรม
วัน เดือน ปี
สถานที่

จำหน่ายหนังสือระเบียบการฯ 4-20 เม.ย 2554 ศูนย์กรุงเทพมหานคร/ศูนย์ภูมิภาค
รับสมัคร 11-20 เม.ย 2554 ทาง Website: http://www.cus.or.th/
ชำระเงินค่าสมัคร 11-22 เม.ย 2554 ชำระผ่านธนาคาร
หรือ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย
ผู้สมัครตรวจสอบความถูกต้อง
ของข้อมูลการสมัคร 12-25 เม.ย 2554
ทาง Website: http://www.cuas.or.th/

ยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูล 12-27 เม.ย 2554
ทางโทรสาร 0-2354-5155-6,
0-2576-5555, 0-2576-5777
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์
และตรวจร่างกาย 8 พ.ค 2554 ทาง Website: http://www.cuas.or.th/
สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย 11-13 พ.ค 2554 มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาที่สอบได้
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา
ในสถาบันอุดมศึกษา 19 พ.ค 2554
ทาง Website: http://www.cuas.or.th/



นักเรียนที่มีความประสงค์จะสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง หรือการสอบ แอดมิชชั่น (Admissions กลาง) ประจำปีการศึกษา 2554 สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cuas.or.th/

น้ำพริก อาหารไทย