วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 จนถึงปัจจุบัน ทรงพระสถานะเป็นประมุขแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พระองค์ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "สมเด็จพระภัทรมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง" ต่อมาได้มีการถวายพระราชสมัญญาใหม่ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช" เมื่อ พ.ศ. 2530 และ "พระภูมิพลมหาราช" อนุโลมตามธรรมเนียมเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า "พระปิยมหาราช" อนึ่ง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า "ในหลวง" คำดังกล่าวคาดว่าย่อมาจาก "ใน (พระบรมมหาราชวัง) หลวง" บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "นายหลวง" ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่
ทั้งนี้ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระชนมชีพอยู่และทรงอยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดในโลก และเสวยราชย์ยาว


ความหมาย ปรมินทร - มาจากการสนธิคำระหว่าง "ปรม (ป.,ส. : อย่างยิ่ง, ที่สุด) + อินฺทฺร (ส. , ป. อินฺท : ผู้เป็นใหญ่) " หมายความว่า "ผู้เป็นใหญ่ที่สุด" หรือ "ผู้เป็นใหญ่อย่างยิ่ง"
ภูมิพล - ภูมิ หมายความว่า "แผ่นดิน" และ พล หมายความว่า "พลัง" รวมกันแล้วหมายถึง "พลังแห่งแผ่นดิน"
อดุลยเดช - อดุลย หมายความว่า "ไม่อาจเทียบได้" และ เดช หมายความว่า "อำนาจ" รวมกันแล้วหมายถึง "ผู้มีอำนาจที่ไม่อาจเทียบได้"



พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดลอันเป็นสายหนึ่งในพระบรมราชจักรีวงศ์ ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เหตุที่มีพระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น
ทั้งนี้ ใกล้สถานที่พระบรมราชสมภพ มีจัตุรัสแห่งหนึ่งซึ่งนายกเทศมนตรีเมืองเคมบริดจ์ขอพระราชทานพระนามว่า “จัตุรัสภูมิพลอดุลยเดช” (King Bhumibol Adulyadej Square) เพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองเคมบริดจ์และโรงพยาบาลอันเป็นที่พระราชสมภพ โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จไปทรงรับมอบการอุทิศจัตุรัสแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2533 ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเปิดผ้าแพรคลุมป้ายแผ่นจารึกพระราชประวัติ ณ ที่ดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535[4]
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่สามในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในกาลต่อมา) และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (ชูกระมล) (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในกาลต่อมา) ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า "เล็ก"[พระนาม "ภูมิพลอดุลเดช" นั้น พระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า "Bhumibala Aduladeja" ซึ่งในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว "ย" สะกดตราบปัจจุบัน ทั้งนี้ เดิมที ด้วยเหตุที่ได้รับตัวโรมันว่า "Bhumibala" สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงทรงเข้าพระทัยว่า ได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า "ภูมิบาล" ต่อมาจึงเปลี่ยนการสะกดเป็น "Bhumibol"[เมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึงสองพรรษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น