วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Bangkok Airways เปิดโศกนาฎกรรม บางกอกแอร์เวย์ส



Bangkok Airways เปิดโศกนาฎกรรม บางกอกแอร์เวย์ส


เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม เวลา 14.30 น. เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินโดยสารของสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ส เที่ยวบิน PG 266 กระบี่-สมุย ลื่นไถลออกนอกรันเวย์ขณะร่อนลงจอดสนามบินสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ ร.ท.ชาติชาย ปั้นสุวรรณ อายุ 58 ปี กัปตันเสียชีวิต ส่วนผู้ช่วยนักบิน ลูกเรือ และผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บหลายคน

ทั้งนี้ เที่ยวบินดังกล่าวของสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ส ได้เดินทางออกจากสนามบินนานาชาติกระบี่ เมื่อเวลา 13.45 น. บรรทุกผู้โดยสาร 68 คน พร้อมลูกเรือ 4 คน รวม 72 คน โดยผู้โดยสารทั้งหมดเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มีกำหนดถึงสนามบินสมุยในเวลา 14.20 น. แต่จังหวะที่เครื่องบินสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ส กำลังลงจอด ได้เกิดฝนตกหนักและมีลมแรง ทำให้เครื่องบินลื่นไถลไปชนอาคารสถานีดับเพลิงของท่าอากาศยาน ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมือของรันเวย์ จนทำให้ส่วนหัวของเครื่องบิน บางกอกแอร์เวย์ส ชนอัดติดอยู่กับเนินดิน เป็นเหตุให้กัปตันและผู้ช่วยนักบินติดอยู่กับที่นั่งภายในห้องบังคับเครื่องบิน

โดย นายเสนีย์ ภูวเศรษฐาวร ประธานสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย และเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ กล่าวว่า เหตุการณ์นี้ ถืออุบัติเหตุครั้งที่ 2 ของสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ส ในรอบ 18-19 ปี ถือว่าเป็นอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงมากนักเมื่อเทียบกับครั้งที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 30 คน ในเบื้องต้นเชื่อว่าเหตุการณ์ครั้งนี้น่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ และอาจไม่กระทบต่อการใช้สนามบินสมุยหลังจากนี้มากนัก

"ขณะที่กำลังนั่งรอขึ้นเครื่อง เพื่อจะเดินทางไปกรุงเทพฯ ช่วงก่อนเกิดเหตุมีลมแรงมาก มีฝนตกเล็กน้อย ซึ่งได้สอบถามพนักงานว่าเครื่องจะขึ้นลงได้หรือไม่ จากนั้นได้ยินเสียงเบรกดังสนั่น และชนกับหอบังคับการบินเก่า ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นที่เก็บอุปกรณ์ดับเพลิง จนเกิดไฟลุกไหม้เล็กน้อย โดยเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ดับเพลิงทันที ตอนนั้นสังเกตเห็นว่าผู้โดยสารตกใจ" นายเสนีย์กล่าว
เช่นเดียวกับ นายอิสระ อายุ 45 ปี ผู้เห็นเหตุการณ์ เล่าว่า ขณะที่คุมงานก่อสร้างอยู่ใกล้บริเวณรันเวย์นั้น ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เกิดฝนตกหนักและลมกระโชกแรง จากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมง มองเห็นเครื่องบิน บางกอกแอร์เวย์ส เริ่มลดระดับเพื่อเตรียมลงสู่รันเวย์

"ผมสังเกตเห็นเครื่องบินเริ่มส่ายผิดปกติ เพราะลมแรงมาก แต่นักบินก็นำเครื่องลงแตะรันเวย์ จังหวะเดียวกันนั้นเองมีลมพายุพัดเข้ากระแทกด้านข้างของเครื่องบิน และเมื่อเครื่องบินแตะรันเวย์ ก็ไถลออกนอกรันเวย์ไปชนกับหอบังคับการเก่าจนได้ยินเสียงดังสนั่น ทำให้ส่วนหัวของเครื่องยุบทันที แล้วเจ้าหน้าที่สนามบินเข้าไปช่วยเหลือผู้โดยสารด้วยความโกลาหล"
ผู้เห็นเหตุการณ์รายเดิมกล่าวอีกว่า ช่วงนี้ฝนตกลมพายุพัดแรงเกิดขึ้นในพื้นที่บ่อยครั้ง อย่างเมื่อเดือนที่แล้วก็เกิดขึ้นครั้งหนึ่ง นักบินต้องนำครื่องไปลงที่สนามบินภูเก็ตแทน

จากนั้นเวลา 17.00 น. สายการบิน บางกอกแอร์เวย์ส ได้จัดเถลงข่าวด่วน โดยนายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการบิน บางกอกแอร์เวย์ส เปิดเผยว่า เครื่องบิน บางกอกแอร์เวย์ส ที่ประสบเหตุดังกล่าวเป็นรุ่น เอทีอาร์ 72-500 ซีรี่ย์นัมเบอร์ เอ็มเอสเอ็น 670 ใช้งานมาแล้ว 8 ปี ซึ่งถือว่าไม่นาน

"อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เนื่องจากเครื่องบินไถลออกไปชนหอบังคับการบินเก่าที่ไม่ได้ใช้งาน ทำให้เกิดความเสียหาย ผมรู้สึกเสียใจต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นที่สมุยเป็นอย่างมาก" นายพุฒิพงศ์ กล่าว และว่าหลังจากเกิดอุบัติเหตุ ทางสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ส ได้ลำเลียงผู้โดยสารออกมาอย่างปลอดภัย โดยมีกัปตันเสียชีวิต 1 คน คือ กัปตัน (ร.ท.) ชาติชาย ปั้นสุวรรณ ส่วนผู้ช่วยนักบิน อีก 1 คน ได้รับบาดเจ็บที่ช่วงขา

"กัปตันชาติชายอยู่กับ บางกอกแอร์เวย์ส มาแล้ว 19 ปี มีประสบการณ์ขับเครื่องเอทีอาร์มาแล้ว 14 ปี คือ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1995 ส่วนผู้โดยสารที่โดยสารมากับเที่ยวบินนี้ ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ คือ อิตาลี อังกฤษ อิสราเอล สเปน ฝรั่งเศส เยอรมัน และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งทั้งหมดสายการบินฯ รับดูแลแล้ว ขณะเดียวกันยังได้ส่งทีมช่วยเหลือ คือนำเครื่องบินส่งทีมแพทย์เข้าไปเพิ่มเติม และนำเจ้าหน้าที่ของกรมขนส่งทางอากาศ (ขอ.)ไปตรวจสอบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น"
ทั้งนี้ มีการรายงานรายชื่อผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุเครื่องบิน บางกอกแอร์เวย์ส โดยยังคงเหลือผู้บาดเจ็บที่รักษาตัวในโรงพยาบาล 9 ราย คือที่โรงพยาบาลบ้านดอนอินเตอร์ 2 ราย ได้แก่ 1. MR.Abreheam Gzaaf อายุ 42 ปี ชาวเนเธอร์แลนด์ บาดเจ็บที่ใบหน้า และ 2. MR.Lucar Gzaaf อายุ 11 ปี ชาวเนเธอร์แลนด์ บาดเจ็บที่ขา และมีอาการปวดบวม

ส่วนที่โรงพยาบาลกรุงเทพสมุย มี 7 ราย ได้แก่. 1.นายธนวัฒน์ เปรมฤดี อายุ 35 ปี ผู้ช่วยนักบิน ที่ติดในเครื่องนานที่สุดกว่าเจ้าหน้าที่จะสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ ทำให้มีอาการกระดูกขาหัก หายใจเหนื่อยหอบ 2. MR.Nicolas Havel ชาวอังกฤษ อายุ 39 ปี กระดูกขาหัก 3. MR.Panteli Pantelis อายุ 39 ปี ชาวอังกฤษ มีอาการกระดูกขาหัก 4. Miss Elodie Lacovangelo อายุ 41 ปี ชาวสวิตเซอร์แลนด์ กระดูกขาหัก 5. Mrs. Mirella Gastaldi อายุ 39 ปี ชาวอิตาลี มีบาดแผลที่ขา 6. Miss Gosleng Joyce อายุ 26 ปี ชาวอังกฤษ บาดเจ็บที่ขา 7. Miss Ballantyne Claire อายุ 33 ปี ชาวอังกฤษ บาดเจ็บที่ขา
ไล่เลียงอันดับโศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นที่ภาคใต้เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2528 เครื่องบินโบอิ้ง 737 บริษัทการบินไทยตกที่จังหวัดภูเก็ต ในเวลากลางคืน ขณะสภาพอากาศไม่ดี นักบินวิทยุแจ้งหอบังคับการบินว่า เครื่องยนต์เกิดขัดข้องทั้งสองเครื่อง และได้กระแทกพื้นจนเกิดเพลิงไหม้ขณะเตรียมร่อนลงจอด ทำให้ผู้โดยสาร 4 คน และลูกเรือ 7 คน เสียชีวิตทั้งหมด

ถัดมาอีก 2 ปี วันที่ 31 สิงหาคม 2530 เครื่องบินโบอิ้ง 737 ของบริษัทการบินไทย เที่ยวบินที่ 365 นำผู้โดยสารบินจากหาดใหญ่ไปยังจังหวัดภูเก็ต เกิดหมุนกลางอากาศ และควงสว่านตกทะเล ทางทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต ห่างจากสนามบินประมาณ 8 กิโลเมตร ไม่มีใครรอด มีผู้เสียชีวิต 83 คน เป็นผู้โดยสาร 74 คน ลูกเรือ 9 คน

ผลการสอบสวนอย่างเป็นทางการ สรุปว่าอุบัติเหตุเกิดจาก มีเครื่องบินบริษัทการบินไทย และดรากอน แอร์ไลน์ เดินทางมาถึงสนามบินในเวลาเดียวกัน เจ้าหน้าที่หอบังคับการบินจัดให้เครื่องทั้งสองลำมีระยะห่างไม่เพียงพอ โดยให้นักบินบริษัทการบินไทยนำเครื่องหลบออกนอกเส้นทาง ให้เครื่องดรากอน แอร์ไลน์ ลงก่อนอย่างกระชั้นชิดเกินไป ทำให้เครื่องบริษัทการบินไทยเกิดอาการหัวปัก เครื่องสะบัดทางขวาอย่างแรง นักบินพยายามแก้ไขโดยดึงหัวขึ้น แต่เครื่องตกทะเลก่อน ภายหลังเหตุการณ์รัฐบาลสั่งการให้ท่าอากาศยานขนาดใหญ่ทั่วประเทศไทย ดำเนินการติดตั้งระบบเรดาร์อย่างเร่งด่วน
ต่อมาวันที่ 21 พฤศจิกายน 2533 เครื่องบินดีเอชซี 8-102 ของบริษัท บางกอกแอร์เวย์ส ตกที่เกาะสมุย นักบิน ลูกเรือ และผู้โดยสารรวม 38 ชีวิต ตายหมดทั้งลำ จากนั้นอีก 8 ปีต่อมา วันที่ 11 ธันวาคม 2541 เครื่องบินแอร์บัส เอ 310-300 เที่ยวบิน 261 มีผู้โดยสาร 146 คน ออกจากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เวลา 11:40 ตามเวลามาตรฐาน ตรงสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง เมื่อเครื่องบินเริ่มลดระดับลงสู่ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี สภาพอากาศมีฝนตกหนักและทัศนวิสัยไม่ดี เนื่องจากพายุดีเปรสชัน "จิล" นักบินต้องพยายามนำเครื่องลงจอดถึง 2 ครั้งแต่ไม่สำเร็จ ในครั้งที่ 3 เครื่องยนต์เกิดสะดุด ทำให้เครื่องบินตกกระแทกพื้น เครื่องเสียหลัก หางเครื่องฟาดหอบังคับการบินบางส่วน เครื่องเสียการทรงตัวพุ่งตกลงไปในป่ายาง ห่างออกไป 2 ไมล์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของท่าอากาศยาน มีผู้เสียชีวิต 101 คน และได้รับบาดเจ็บ 45 คน ในจำนวนนี้มีนายเรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ หรือเจมส์ นักร้องนักแสดงชื่อดังและรอดชีวิตราวปาฏิหาริย์

สาเหตุของการตกครั้งนี้ คาดว่าน่าจะมาจากการหลงสภาพการบินในการลงจอดเวลากลาง คืนในสภาพอากาศที่มีลมแรง ภายหลังการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ การบินไทยได้ออกระเบียบห้ามการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ตลอดเที่ยวบิน

และครั้งร้ายแรงที่สุด คือวันที่ 16 กันยายน 2550 สายการบินวัน-ทู-โก แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 269 นำผู้โดยสารบินจากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองไปยังจังหวัดภูเก็ต เมื่อมีผู้โดยสาร 123 คน เป็นชาวไทย 67 คน และชาวต่างชาติ 56 คน ขณะร่อนลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ได้ประสบอุบัติเหตุเครื่องบิน ไถลออกนอกรันเวย์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 90 ราย เป็นชาวต่างชาติ 55 ราย คนไทย 35 ราย รวมทั้งกัปตัน และนักบิน และมีผู้บาดเจ็บ 41 ราย ชาวต่างชาติ 24 ราย คนไทย 17 ราย ลูกเรือรอดชีวิต 2 ราย จาก 5 ราย

ผ่านมา 2 ปีก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นอีก แต่ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตเพียงคนเดียว ทุกคนหวังว่า คงจะไม่เกิดโศกนาฏกรรมเช่นนี้อีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น