วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เฮลโลคิตตี





เฮลโลคิตตี (「ハローキティ」, Harō Kiti, ハローキティ?) (อังกฤษ: Hello Kitty) เป็นตัวการ์ตูนลิขสิทธิ์ของบริษัทซานริโอ ประเทศญี่ปุ่น มีชื่อเล่นว่า "คิตตีจัง" ลักษณะเป็นลูกแมวเพศเมียสีขาว ติดโบว์สีแดงที่หูข้างซ้าย โดยนักออกแบบคนแรกที่เป็นผู้สร้างตัวเฮลโลคิตตี คือ อิคุโกะ ชิมิซุ เมื่อ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974 แต่หลังจากนั้นเพียง 1 ปี เธอได้ออกจากบริษัท และผู้ที่มารับหน้าที่ต่อก็คือ เซ็ตสึโกะ โยนิคุโบะ ซึ่งได้สานต่อเป็นเวลา 5 ปี ก่อนที่จะส่งมอบให้ ยูโกะ ยามางูชิ ซึ่งเป็นนักออกแบบให้กับ เฮลโลคิตตี้ มาจนถึงปัจจุบัน

ระยะเวลาทำให้ความโด่งดังของเฮลโลคิตตี้ไปทั่วโลก และกลายมาเป็นตราสัญลักษณ์ของสินค้านานาชนิดมากมาย จนกระทั่งเกิดตัวการ์ตูนเฮลโลคิตตีที่มีชีวิตจิตใจ และประวัติส่วนตัว การ์ตูนเรื่องแรกคือ เฮลโลคิตตีส์เฟอร์รีเทลเธียร์เตอร์ (อังกฤษ: Hello Kitty's Furry Tale Theatre) ออกอากาศเมื่อปี ค.ศ. 1987 ก่อนที่ผู้ผลิตการ์ตูนโทรทัศน์ชาวอเมริกันจะสร้างการ์ตูน เฮลโลคิตตีแอนด์เฟรนส์ (อังกฤษ: Hello Kitty and Friends) ออกอากาศทางช่องซีบีเอส ในปี ค.ศ. 1991 จากนั้นทางญี่ปุ่นก็ได้สร้าง เฮลโลคิตตีส์แพระไดส์ (อังกฤษ: Hello Kitty's Paradise) ที่มีความยาว 16 ตอนออกอากาศระหว่างปี ค.ศ. 1993-1994 และมีการนำไปแปลงเป็นภาคภาษาอังกฤษ และออกอากาศในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2002

เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษมัน้ำหนักตัวเท่ากับแอปเปิ้ล 3 ผล
เจ้า Kitty เป็นแมวเด็กหญิงตัวเล็ก ซึ่งชอบการทำ คุกกี้เป็นชีวิตจิตใจ นอกจากนี้ยังชื่น ชอบ ลูกกวาด
ดาว และปลาทอง ฯลฯ อีกด้วย

แมวเหมียวสีชมพูคาแรกเตอร์การ์ตูน “ ฮัลโหล คิตตี้ ” ที่น่ารักน่าชังขวัญใจ ของกลุ่มคนหลายวัยได้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ โลโก้ ยี่ห้อ
ดัดแปลงให้เข้ากับ ผลิตภัณฑ์นานาชนิด ที่มีราคาไม่กี่สิบบาทไปจนถึงหลักล้านบาท อาทิเช่น สินค้าจำพวกโทรศัพท์มือถือ , โน้ตบุ๊ก , คอมพิวเตอร์ พีดีเอ ,
ยูเอสบี ฮับ , กระติกน้ำร้อน และสินค้าอื่นๆ ถูกวางขายตั้งแต่ 30 ปีเศษที่ผ่านมา ความนิยมในตัวการ์ตูนแมวเหมียว ถูกต้อนรับจาก กลุ่มวัยรุ่นที่เป็นต้นแบบ
ของความน่ารัก “ คิกขุ ” โดยจะมีกลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเพื่อหลงใหลเพิ่มขึ้นตลอดเวลา และคงไม่มีใครคิดว่า จะสร้างรายได้ให้ บริษัทซานริโอถึงปีละ
1,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 41,000 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากการขายตัวลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ “ ฮัลโหล คิตตี้ ” ได้ถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณกว่า 20,000 ล้านบาท ถูกนำไปใช้กับสินค้าทั่วโลกกว่า 22,000 ชนิด แม้กระทั่งมิตซูบิชิยังใช้โลโก้นี้
ผลิตรถมินิคาร์สีชมพ โดยในแต่ละเดือนจะมีสินค้าใหม่ๆ เข้ามาถึง 600 ชนิด เพราะเป็นสินค้าที่ขายได้ มีกลุ่มลูกค้าชัดเจน ขณะที่ซานริโอ800 ล้านดอลลาร์สเองผลิตสินค้าของตนภายใต้ยี่ห้อฮัลโหล คิตตี้ประมาณ 6,000 ชนิด โดยที่เจ้าของมีกฎข้อห้ามไม่ให้นำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ยาสูบ ,
แอลกอฮอล์ และอาวุธ นายชินทาโร ซึจิ ผู้ก่อตั้งบริษัทซานริโอมาตั้งแต่ปี 2503 ได้สิทธิ์ขายสินค้า “ สนู X ” และ “ บาร์บี้ ” ในญี่ปุ่น ต่อมาคิดค้นตัวฮัลโหล คิตตี้ ออกมาในปี 2513
จนปัจจุบัน คาแรกเตอร์การ์ตูนของซานริโอมีอยู่กว่า 400 ตัว ตัวที่ประสบความสำเร็จ ที่สุดก็คือแมวเหมียวฮัลโหล คิตตี้ ตามด้วยสุนัข “ ซินนามอร์โรลล์ ”
และแมว “ ช็อกโกแค็ท ” แน่นอนว่าฮัลโหล คิตตี้ จะต้องเป็นผู้เลี้ยงดูตัวคาแรกเตอร์ อื่นๆ ที่ยังไม่สามารถแจ้งเกิดได้ สิ่งที่ท้าทายซานริโอในขณะนี้ก็คือ รายได้หลักที่มีอยู่ถึง 85% อยู่ในประเทศญี่ปุ่น ขณะที่อัตราการขยายตัวของประชากรอยู่ในระดับต่ำมาก
เกือบศูนย์เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ยังเป็นอุปสรรคขวากหนามหลัก และยังมีการประเมินกันว่ามียอดละเมิดลิขสิทธิ์อยู่เกือบ หรัฐฯ
หรือกว่า 32,000 ล้านบาท โดยสินค้าเกือบทั้งหมดจะมาจากประเทศจีน
ยิ่งในปัจบันเป็นยุคสังคมดิจิตอลที่สินค้าไฮเทค ถูกประดิษฐ์คิดค้นออกมาจำนวนมาก แต่ไม่ว่าจะไฮเทคแค่ไหน ฮัลโหล คิตตี้ ก็ยังจะเป็นที่นิยม ไปอีกแสนนานตราบที่ยังมีลูกค้าที่ ภักดีกับ แมวเหมียวตัวนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น